วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นกกรงหัวจุก

นกกรงหัวจุก


     นกกรงหัวจุก ที่เราๆท่านๆ นำมาแข่งขันประชันเสียงกันนั้น มีตำนานเล่าสืบต่อกันมา และมีหนังสือบางเล่ม ได้เขียนเอาไว้ว่าชนชาติแรกที่นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงคือชาวจีน เมื่อประมาณ พ..2410 คนจีนได้นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงแทนนกโรบิ้น ที่คนจีนส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่กรงพาเดินไปตามถนนหรือนั่งร้านกาแฟ หรือไปหาเพื่อนๆที่รู้ใจและเลี้ยงนกเหมือนกัน และเจ้านกโรบิ้น มักจะเป็นนกที่ตกใจง่ายและตื่นคน บางครั้งตกใจมากจนถึงขั้นช๊อคตายคากรง ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ชาวจีนกันมาเลี้ยงนกปรอดหัวจุกหรือนกหัวจุกกันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

     นกกรงหัวจุกมีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ในทวีปเอเซีย พบได้ ประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว ส่วนใหญ่ เราจะพบนกชนิดนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ

     นกกรงหัวจุกเป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย นั่นคือการแข่งขันประชันเสียงเพลงที่มีลีลาการร้องของสำนวนเสียง ในนกแต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ นครศรีธรรมราช นิยมนำนกกรงหัวจุกมาชนกันหรือตีกันเหมือนกับการชนไก่ คือเอานกมาเทียบขนาดให้ใกล้เคียงกันแล้วจับใส่กรงกลางที่มีขนาดใหญ่แล้วปล่อยให้นกทั้งสองตัวไล่จิกตีกันภายในกรงจนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่านกปรอดหัวจุก มีนิสัยดุร้ายและชอบไล่จิกและตีกัน ตามธรรมชาติอยู่แล้ว

    
การแข่งขันนกกรงหัวจุกได้มาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อประมาณปี พ
..2515 เพราะว่าชาวจังหวัดสงขลา มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนจากการตีกันมาเป็นแบบแข่งขันประชันเสียง โดยเอาแบบมาจากการแข่งขันของนกเขาชวา คือนำนกป่าที่ต่อมาได้นำมาเลี้ยงและฝึกให้เกิดความเชื่องกับคนเลี้ยงหรือเชื่องกับผู้ที่เป็นเจ้าของ พร้อมกับฝึกให้นกมีความสามารถในการร้องในลีลาต่างๆ ตามแต่ที่นกในแต่ละตัวจะทำได้ และผู้เล่นนกกรงหัวจุกก็เริ่มเปลี่ยนการละเล่นที่นำนกมาตีกัน มาเป็นอย่างเดียวกันกบนกเขาชวา คือการเล่นฟังเสียงอันไพเราะของนก จากนั้นการแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็เริ่มมีผู้นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.. 2519 ที่สนามบริเวณหลังสถานีรถไฟเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งในการจัดครั้งนั้นถือว่าเป็นรายการใหญ่ที่สุดในยุคนั้น และได้ยกเลิกการแข่งขันนกกรงหัวจุกในแบบตีกัน ต่อมาเมื่อประมาณ พ..2520 ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดให้มีการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก โดยจัดตั้งขึ้นเป็นชมรม ซึ่งทำให้ทุกวันนี้มีชมรมต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย


    
กรุงเทพมหานคร ได้มีการเล่นนกกรงหัวจุก เมื่อประมาณ พ
.. 2524 โดยมีกลุ่มคนทางภาคใต้นำเอากีฬาชนิดนี้เข้ามาเผยแพร่ให้เป็นทีรู้จักและได้จัดให้มีการแข่งขัน ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ตลอดสวนจตุจักร และนับแต่นั้นมากระแสความนิยมแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็ได้รับความนิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน

    
นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือนกพิชหลิว ชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า
Pycnomotus Jocosus เป็นนกที่มีการคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ..2535 มาตรา 17 ให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้
    
วงศ์สกุล
(GENUS) ของนกปรอดมีมากมายหลายชนิด วงศ์นกปรอด (Family Pycnonotidae) เป็นนกที่มีชนิดมากที่สุด ซึ่งในแต่ละชนิดก็มีเป็นจำนวนมาก และที่ถูกค้นพบมากที่สุดคือประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยมีรายงานการค้นพบนกปรอดทั้งหมด ประมาณ 36 ชนิด โดยที่ปรอดทั่วโลกมีประมาณ 109 ชนิด
นกปรอดหัวจุกที่นิยมนำมาแข่งขันกันนั้น จะนิยมนำนกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือที่ภาคใต้เรียกว่านกหัวจุก ภาคเหนือนิยมเรียกว่านกปริ๊จจะหลิวหรือพิชหลิว ส่วนในสายพันธุ์อื่นๆ นั้น ปัจจุบันยังไม่ปรากฏว่ามีการนำมาเลี้ยงเพื่อการแข่งขันประชันเสียงร้อง เช่นเดียวกับนกกรงหัวจุกแต่อย่างใด
ลักษณะทั่วไปของนกปรอดหัวโขนเคราแดง
แก้มและคอจนถึงหน้าอกจะมีสีขาวและมีสีแดงเป็นเส้นอยู่ข้างหูลงมาถึงหน้าอกเหมือนเป็นเส้นแบ่งขนสีขาวกับสีดำที่มีอยู่ทั่วทั้งตัว ขนส่วนหัวจะร่วมกันเป็นเหมือนหน่อตั้งอยู่บนหัวสูงขึ้นไปเหมือนหัวโขน ใต้ท้องมีขนสีขาว

นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือนกกรงหัวจุกนั้นทางภาคใต้นิยมเลี้ยงกันมายาวนานแล้ว และสืบทอดกันมาชั่วลูกหลานจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง จนเรียกได้ว่าการเลี้ยงนกกรงหัวจุกเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านหรือเป็นเกมกีฬาอย่างหนึ่งของคนภาคใต้ไปแล้ว และไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ ว่าคนทางภาคใต้เริ่มเลี้ยงมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีหนังสือนกกรงหัวจุกเล่มหนึ่ง โดยมีคุณศักดา ท้าวสูงเนิน เป็นบรรณาธิการ ได้รวบรวมและเขียนเอาไว้ว่า

การเริ่มเลี้ยงนกปรอด ประเทศสิงคโปร์ น่าจะเป็นชาติแรกที่นิยมเลี้ยงนกปรอดก่อนประเทศอื่นๆ และได้ให้ความสำคัญกับนกชนิดนี้มาถึงกับเอารูปนกปรอดหัวโขนเคราแดงมาเป็นสัญลักษณ์ในการพิมพ์ธนบัตรใช้จ่ายภายในประเทศ ดังนั้น จึงขอสันนิษฐานว่าน่าจะเลี้ยงก่อนชาติอื่นๆ

ส่วนในประเทศไทยเริ่มมีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกกันมานานแล้วประมาณว่าเกินกว่า
40 ปี มาจนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการพัฒนาการเลี้ยงและการแข่งขันประชันเสียงออกเป็นชนิดต่างๆ เช่นมีทั้งการแข่งขันประชันเสียงในประเภทนับดอก คือให้คะแนนตามที่นกร้องออกมาเป็นคำละคะแนน ประเภทสากล ประเภทเสียงทอง และในปัจจุบันก็ไม่ปรากฏว่ามีการแข่งขันประเภทตีกัน
การแข่งขันนกกรงหัวจุกได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่มีผู้คนให้ความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีการจัดงานแข่งขันประชันเสียงกันทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ในแต่ละสัปดาห์จะมีรายการแข่งขันทั้งประเทศไทยไม่ต่ำกว่า
5 สนาม มีชมรมฯต่างๆ ที่เกี่ยวกับนกกรงหัวจุกทั่วประเทศนับเป็นร้อยๆ ชมรมฯ และสิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การได้รับการโปรดเกล้าพระราชทานถ้วยเป็นรางวัลแก่ผู้ที่ชนะการแข่งขัน มีตั้งแต่ถ้วยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้วยของพระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งสร้างความปราบปลื้มและเป็นเกียรติยศแก่วงศ์ตระกูลของผู้ที่ได้ครอบครองถ้วยพระราชทาน

     วงการนกกรงหัวจุกจัดได้ว่าเป็นวงการที่ได้รับความนิยมจากคนไทยทั้งประเทศเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมแพร่ขยายมากขึ้น มีการจัดรายการแข่งขันติดกันและต่อเนื่องตลอดทั้งปี มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้การสนับสนุนหลายท่าน ซึ่งส่งผลให้วงการกีฬานกกรงหัวจุกเป็นกีฬาที่สร้างความสนุกสนานและเป็นการสร้างความสามัคคีให้กับคนในชาติได้เป็นอย่างดี
นกกรงหัวจุก (การดูแลเลี้ยงดู)
   เรื่องราวของนกกรงหัวจุกในฉบับที่แล้วซึ่งได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องราวทั่วๆ ไปของนกกรงหัวจุก ต่อไปก็ขอเข้าเรื่องของการดูแลเลี้ยงดูนกกรงหัวจุกว่ามีความยากง่ายเพียงไรครับนกกรงหัวจุกเป็นนกที่มีอายุยืน นกที่เลี้ยงอาจมีอายุยืนถึง 18 ปี การเลี้ยงนกกรงหัวจุกต้องมีวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบการเลี้ยง ซึ่งได้แก่ กรงของนกกรงหัวจุก มีทั้งกรงรวมซึ่งเป็นกรงขนาดใหญ่สำหรับพักนกที่จับมาขาย หรือเป็นกรงสำหรับให้นกบินออกกำลังกาย กรงเลี้ยงแบบธรรมดา กรงให้นกผลัดขน และกรงที่นำไปแข่ง ถ้วยใส่น้ำ ถ้วยใส่อาหาร ที่รองถ้วยน้ำถ้วยอาหาร ห่วงกลม สำหรับให้นกกระโดดเกาะ ตะขอแขวนผักผลไม้ ใช้ติดในกรงนก 2 อันต่อ 1 กรง คอนเกาะ ผ้าคลุมกรงนก เพื่อไม่ให้นกตกใจต่อสิ่งรอบข้างที่แปลกใหม่ ป้องกันไม่ให้ลมโกรกถูกตัวนก หรือป้องกันไม่ให้ศัตรูมาทำร้าย ถาดรองขี้นก หัวกรง ตะขอแขวนกรง ตุ้มขากรง ขันสำหรับให้นกอาบน้ำในกรง

สำหรับวิธีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกระยะต่างๆ มีดังนี้
             การเลี้ยงดูลูกนกเกิดใหม่ ลูกนกที่เกิดใหม่ มีวิธีการให้อาหารคือ 1. อาหารลูกไก่ทำให้ละเอียด 2. กล้วยน้ำว้าเละ 3.หนอนนก
การป้อนอาหารจะป้อนสลับกันไป ถ้าหากลูกนกยังร้องอยู่ก็แสดงว่าลูกนกยังไม่อิ่ม ให้
ป้อนอาหารจนกว่าลูกนกจะหยุดร้อง หรือดูว่าลูกนกกินอาหารมากพอสมควรแล้วก็หยุดป้อน
นอกจากป้อนอาหารแล้ว ต้องป้อนน้ำและหัดให้ลูกนกกินอาหารเองบ้าง จนอายุ 15 - 20 วัน ขึ้นไป
ก็สามารถแยกลูกนกไปไว้ในกรงเดี่ยว และให้แขวนใกล้ลูกนกตัวอื่นๆ เพื่อไม่ให้ลูกนกตื่นกลัว
การเลี้ยงดูลูกนกในกรง ลูกนกในกรงเริ่มกินอาหารเองได้แล้ว และมีสุขภาพแข็งแรง เมื่ออายุได้
ประมาณ 40 วัน ขนจะขึ้นทั่วตัว สีขนของนกจะเปลี่ยนเป็นสีเทา เมื่อนกอายุได้ 100 - 120 วันขึ้นไป นกจะเริ่มผลัดขน ขนจะเปลี่ยนเป็นสีขาวสีน้ำตาล ต่อมาจะมีขนแดงใต้ตาและมีแก้มสีขาว มีแถบดำที่เรียกว่าสร้อยคอ ขนใต้หางจะเปลี่ยนเป็นสีแดงส้ม ระยะนี้ต้องให้อาหารนกกินให้สมบูรณ์
การเลี้ยงนกหนุ่ม เมื่อนกกรงหัวจุกผลัดขนจนเป็นนกหนุ่มที่สมบูรณ์แล้ว ส่วนต่างๆ ของร่างกายจะแข็งแรงเจริญเติบโตและสมบูรณ์ดี ช่วงอายุนกหนุ่มขึ้นไปจะมีการผลัดขนปีละ 1 ครั้งขึ้นไป ขณะผลัดขนควรจะนำนกไปไว้ในกรงผลัดขน ซึ่งกรงจะใหญ่กว่ากรงเลี้ยงธรรมดา หรืออาจปล่อยไว้ในกรงพักนกใหญ่ก็ได้ ในช่วงผลัดขน นกจะไม่ร้องถ้าร้องก็ร้องเพียงเล็กน้อยจนกว่าจะผลัดขนหมดจึงจะเริ่มร้อง นกหนุ่มจะร้องเพลงได้เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี  การเลี้ยงนกกรงหัวจุกที่อ้วน เมื่อเริ่มเลี้ยงใหม่ๆ มักจะให้อาหารแก่นกเป็นอย่างดี เพราะนกเมื่อได้มาใหม่จะผอม จึงเป็นสาเหตุให้นกอ้วนเกินไป ส่งผลให้นกขี้เกียจกระโดดออกกำลังกาย ขี้เกียจร้อง ดังนั้น จึงต้องลดความอ้วนของนกลง โดย
การให้อาหารให้น้อยลงโดยเฉพาะอาหารพวก กล้วยน้ำว้า อาหารเม็ด และหนอนนก เพราะอาหารพวกนี้จะมีโปรตีนแลไขมันสูง ควรงดการให้สักระยะหนึ่งจนกว่านกจะผอมลง ต้องให้อาหารจำพวก มะละกอสุก ลูกตำลึงสุก เพื่อให้นกถ่ายอุจจาระบ่อยๆ และให้นำนกไปตากแดดมากขึ้น
อาหาร นกกรงหัวจุกชอบกินผลไม้และพืชผักเป็นหลัก นอกจากนี้ยังชอบกินหนอน ตั๊กแตน และแมลงอื่นๆ ซึ่งเป็นอาหารโปรตีน เพื่อทำให้ร่างกายเจริญเติบโต หากเป็นอาหารเม็ด ควรใช้อาหารลูกไก่เพราะจะมีโภชนาการครบถ้วน

อาหารต่างๆ มีดังนี้
         
ผลไม้ ได้แก่ กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก ส้มเขียวหวาน ฝรั่งสุก มะม่วงสุก พุทราสุก
พืชผัก ได้แก่ ลูกตำลึง มะเขือเทศ แตงกวา พริกขี้หนูแดง บวบ
หนอนและแมลง ได้แก่ หนอนนก ไข่มดแดง ปลวก จิ้งหรีด ตั๊กแตน แมลงเม่า เป็นอาหารโปรตีน ทำให้นกเจริญเติบโตได้เร็ววันที่ 15 - 21 กันยายน 2551 อาหารเม็ด ใช้อาหารสำหรับลูกไก่ ควรเสริมให้นกกินเป็นบางครั้งบางคราว ผู้เลี้ยงควรเปลี่ยนอาหารสลับกันไปเช่น เป็นผลไม้บ้าง พืชผักบ้าง หนอนนกบ้าง และอาหารเม็ดบ้างใบพืช ได้แก่ ใบมะขาม ใบผักหวาน ใบตำลึงเมล็ดพืช เช่น เมล็ดธัญพืช เมล็ดทานตะวัน เมล็ดเกาลัด และพวกถั่ว เป็นต้น
อาหารพิเศษ ใช้เป็นอาหารเสริมจากอาหารหลัก เพื่อให้นกมีความแข็งแรงสมบูรณ์ คึกคัก หรือช่วยรักษาอาการ
ป่วย ปกติจะให้อาหารเสริมแก่นกตัวพิเศษที่เลี้ยงไว้แข่งขัน เช่น ข้าวสวยสุกผสมแกงส้มภาคใต้ พริกสดแช่น้ำผึ้ง กระดองปลาหมึก ทราย แท่งไอโอดีน วิตามิน เป็นต้น
อาหารผสม เป็นอาหารจำพวกเมล็ดพืชผสม มีความหลากหลายของสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมันโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งจะมีส่วนผสมของถั่ว ผักและผลไม้แห้ง และควรเสริมด้วยผักและผลไม้ให้นกด้วยการให้อาหาร ควรให้อาหารเป็นเวลา อย่าให้พร่ำเพรื่อหรือหลายอย่างพร้อมกัน เพราะถ้านกกินอิ่มมากเกินไปจะทำให้ท้องเสีย ควรให้นกกินอาหารหลากหลายชนิดจนเกิดความเคยชินการให้น้ำ ควรมีน้ำที่สะอาดให้นกอย่างเพียงพอตลอดเวลาวิธีการดูแลนกกรงหัวจุกในตอนเช้า ให้เปลี่ยนอาหารนก โดยผ่ากล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก มะเขือเทศสุก ลูกตำลึงสุก แตงกวา บวบออกเป็นครึ่งลูก หรือทำเป็นชิ้น ๆ ถ้าเป็นลูกตำลึงสุกก็ให้ทั้งลูก การให้อาหารควรจะสลับกันไปวันละ 2 ชนิด เพื่อกันไม่ให้นกเบื่ออาหาร สำหรับอาหารเม็ดก็ใส่ไว้ในถ้วยอาหาร อาจไม่ต้องให้ทุกวันเมื่อเปิดกรงนกหัวจุก ให้สังเกตดูขี้นก หากขี้นกเป็นแบบขี้จิ้งจก คือเป็นเม็ดสีขาวดำแสดงว่าปกติ แต่ถ้ามีลักษณะเหลว หรือเป็นน้ำ ก็แสดงว่านกป่วยต้องรีบรักษาทันทีการให้น้ำ ให้เปลี่ยนน้ำใหม่ใส่ให้เกือบเต็มถ้วย เพราะน้ำเก่าอาจจะสกปรกการนำนกกรงหัวจุกไปตากแดด เพื่อให้นกได้กระโดดไปมาออกกำลังกาย และเพื่อให้นกร้อง ให้ตากแดดตั้งแต่
ตอนเช้าจนถึงตอนบ่าย
ข้อควรระวัง คือ อย่าแขวนนกที่มีอายุน้อยใกล้กับนกที่มีอายุมากเพราะจะถูกข่มขู่ ลูกนกและนกหนุ่ม ควรค่อย ๆ เพิ่มเวลาแขวนตากแดดวันละ 1 ชั่วโมง เป็นวันละ 2 ชั่วโมง และตากแดดไว้นานขึ้นจนนกเคยชิน เพราะเวลานำนกกรงหัวจุกเข้าประกวดแข่งขันต้องใช้เวลา 5 - 6 ชั่วโมง ในการประกวด ซึ่งนกต้องตากแดดตลอดเวลา หลังจากให้นกตากแดดตั้งแต่เช้าจนถึงบ่าย ก็ให้เก็บนกและกรงนกไว้ในที่ร่ม ทำความสะอาดกรง ตะขอที่เกี่ยวอาหาร ถ้วยใส่น้ำถ้วยใส่อาหารเม็ด ล้างถาดรองขี้นก ให้อาหารและน้ำนกเช่นเดิม ให้นกอาบน้ำ โดยนำขันอาบน้ำใส่ไว้ในกรง ใส่น้ำลงไป
นกก็จะอาบน้ำเอง ถ้านกตัวไหนไม่ชอบอาบน้ำ ก็จะใช้สเปรย์ฉีดน้ำเป็นฝอยให้ทั่วตัวนก เสร็จแล้วเทน้ำที่ขันอาบน้ำนกทิ้งแล้วคว่ำขันลงทิ้งไว้ในกรงนก เมื่อได้อาบน้ำแล้วนกจะมีความสุข อารมณ์ดี และร้องเพลงได้ดีหลังจากนั้นให้นำนกไปแขวนไว้ที่ชายคาบ้าน หรือราว หรือกิ่งไม้ไว้เหมือนเดิม เวลาประมาณ 15.00 - 16.00 .ซึ่งจะเป็นแดดอ่อนๆ ไม่แรงมากนัก ให้นกได้ตากแดดอีกครั้ง ประโยชน์ของการตากแดดเพื่อให้นกสังเคราะห์วิตามินดีช่วยให้กระดูกแข็งแรง และเพื่อให้นกขนแห้งสนิท ฟูสวยงามเป็นเงาและไม่คันตัว กรงนกก็จะแห้งและไม่ขึ้นรา อายุการใช้งานของกรงก็นานขึ้น หลังจาก 16.00 . ในช่วงใกล้ค่ำให้เก็บนกเข้าบ้าน ปิดผ้าคลุมกรงเพื่อให้นกพักผ่อนจังหวัดพิจิตรของเรามีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกแทบทุกอำเภอ โดยเฉพาะที่อำเภอสากเหล็ก ตะพานหินและอำเภอเมือง และได้มีการจัดตั้งชมรมนกกรงหัวจุกขึ้น จะเห็นว่าการดูแลนกกรงหัวจุกนั้นไม่ยากหากเรามีความตั้งใจและรักที่จะเลี้ยง หากท่านใดสนใจการเลี้ยงนกกรงหัวจุกลองหารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากจากเอกสารอ้างอิงจะครับ
 
วิธี ผสมพันธุ์นกกรงหัวจุก
ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่าผมไม่ใช่มืออาชีพ แต่สาเหตุที่ทำให้ผมมาศึกษาวิธีการเพาะนกกรงหัวจุกก็คือ วันหนึ่ง
เมื่อ3-4 ปีก่อนมีอยู่วันหนึ่งผมได้มองนกตัวที่ผมรักมากๆๆ แล้วผมก็คิดว่าสักวันหนึ่งเขาก็ต้องจากเราไป แล้วเราจะไปหานกที่ไหน
มาเลี้ยงทดแทนตัวเก่า และปํญหามันอยู่ตรงที่ ผมไม่ได้เลี้ยงนกแข่ง ไม่รู้จักเซียนนก ดูนกไม่เป็น และที่สำคัญเงินก็น้อยเสียด้วย
ทำให้ผมมีความคิดที่จะทดลองผสมพันธุ์ดู แต่ในตอนนั้นมีแต่คนบอกว่านกหัวจุกเป็นนกที่เพาะพันธุ์ยาก ไม่เหมือนนกพิราบแต่ผม
บอกว่าผมจะทดลองดู ผมจึงลองผิดลองถูกอยู่หนึ่งปีเต็ม พบปัญหามากมายเช่น นกวางไข่แล้วก็ไม่กกไข่ กกแล้วก็ไม่เป็นตัว
เป็นตัวแล้วก็ตาย เป็นแบบนี้มาหลายต่อหลายครั้งทำให้ผมเริ่มสังเกต และเก็บข้อมูลต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ จนเป็นผลสำเร็จจาก 1 คู่
ก็ขยายกรงเป็น 2 คู่ 3 คู่ 4 คู่ และณ.ปัจจุบันนี้ผมมีกรงเพาะพันธุ์ถึง 14 คู่ บางคนบอกว่าผมประสบความสำเร็จ แต่ผมบอกว่ายัง
ตราบใดที่นกที่ผมเพาะพันธุ์ยังไม่ได้รางวัลในการแข่งขัน เมื่อใดที่นกเพาะพันธุ์ของผมได้รางวัลในการแข่งขันนั้นถือว่าเป็นจุดหมาย
ที่ผมตั้งไว้
                                                                         

กลับมาเข้าเรื่องกันดีกว่าสาเหตุที่ผมเปิดกระทู้นี้ขึ้นมามีสาเหตุเนื่องมาจากได้มีสมาชิกหลายๆ คนได้โทรศัพท์มาสอบถามผมถึง
วิธีการเพาะนกหัวจุก และวิธีการบำรุงพ่อ-แม่พันธุ์ ผมจึงตัดสินใจนำความรู้ที่มีอยู่อันน้อยนิดมาแนะนำให้สมาชิกมือใหม่ที่คิดจะทด
ลองผสมพันธุ์ได้ทราบเพื่อลดเวลาในการลองผิดลองถูกลง แต่ถ้าหากวิธีของผมไม่ตรงกับพี่ๆ เพื่อนๆ มืออาชีพ มือเก่า ผมต้อง
ขอโทษมาณ.ที่นี้ด้วยนะครับ เพราะผมไม่ใช่มืออาชีพครับใช้ประสบการณ์ของตัวเองครับ
การแข่งขันนกกรงหัวจุก
การแข่งขันแบบสากล
การแข่งขันแบบสากลส่วนใหญ่จะเน้นที่ความงดงามสมส่วนหรือมีลีลา สง่างามหรือไม่ และสำนวนเพลงร้องของแต่ละตัวดีหรือไม่อีกทั้งการแข่งขันแต่ละครั้งจะไม่ จำกัดยกแต่จะใช้จำนวนนกที่เข้าร่วมเป็นเกณฑ์ การแข่งขันจะใช้กรรมการ 3 คนต่อชุด ทำหน้าที่คัดเลือกนกออกให้เหลือเท่าจำนวนรางวัลที่จัดเอาไว้ กรรมการทั้ง 3 คนจะยึดกฎกติกาอันเดียวกัน โดยจะเดินวนรอบๆ ราวแขวนนกระยะพอประมาณ กรรมการ 1 คนจะสังเกต 6-9 ตัว รอบแรกจะคัดเอานกตัวที่ไม่ร้องหรืออยู่นิ่งๆ ขนพองฟูออก เพราะแสดงว่าไม่มีใจสู้ ไม่มีปฏิกิริยาอะไรกับนกตัวที่อยู่รอบๆ ข้างเลย กรรมการก็จะจดหมายเลขนกตัวนั้นเอาไว้ ถ้านกตัวใดถูกกรรมการ 2-3 คนจดหมายเลยซ้ำกันถือว่าตกรอบ นกที่เหลือจะถูกยุบเข้าไปอยู่บนราวเดียวกัน เมื่อเหลือจำนวนน้อยลงไปเรื่อยๆ จะสังเกตว่ายกที่ 1-3 นั้นนกที่ตกรอบเป็นนกที่ไม่ร้องไม่โชว์ลีลาอะไร
ยก 4 กรรมการจะเน้นไปที่เสียงร้องเป็นพิเศษ นกที่ผ่านยก 1-3 มาได้ แต่ถ้าไม่มีเสียงร้องในยกที่ 4 แม้จะมีลีลาดีเพียงใดก็ต้องตกรอบไปเพราะก่อนเข้ารอบรองชนะเลิศกรรมการจะ พิจารณาเสียงเป็นหลัก พอคัดเลือกนกเหลือเท่ารางวัลกรรมการจะหยุดพัก 5 นาที ให้เวลาเจ้าของนกหรือพี่เลี้ยงทำนกให้สดชื่นตื่นตัวและคึกคักพร้อมเข้าแข่ง รอบชิงชนะเลิศ ในช่วงเวลา 5 นาทีนี้ สิ่งที่เจ้าของนกส่วนมากจะทำกันคือป้อนอาหารจำพวกเรียกพลังเช่นตักแตนหนอน ให้นกอิ่มมีพลังร้องอย่างเต็มที่ในยกต่อไป และนำอาหารนกที่เหลือในกรงออกเพื่อให้สนใจร้องอย่างเดียวไม่มัวกินอาหาร พร้อมทั้งเปลี่ยนน้ำให้นกใหม่เพราะน้ำใช้มาตั้งแต่เช้าสกปรกและร้อนเกินไป หรืออาจจะมีวิธีอื่นอีกก็แล้วแต่เจ้าของ
รอบชิงชนะเลิศกรรมการแต่ละคนจะใช้วิธีเดินรอบสนามหรือราวนก เพื่อให้คะแนนหลายๆ รอบจนครบหมดทุกตัว ในการตัดสินรอบแรกจะดูนกที่ร้องก่อนตัวอื่นๆ โดยเดินวนตามหลังกันเว้นระยะห่างพอประมาณไปในทิศทางเดียวกัน ใช้ระยะเวลาในการเดินให้คะแนนคนละเท่าๆ กันคือ 1 นาทีต่อ 1 ล๊อก ดูนกประมาณ 3 ตัว เมื่อพบนกตัวใดร้องก็จะจัดการให้คะแนนตามแบบฟอร์มโดยจะดูลักษณะการร้อง (เสียงร้อง) และลีลาการร้องประกอบกัน ส่วนนกที่ไม่ร้องในการเดินรอบแรก กรรมการก็จะยังไม่ให้คะแนน แต่ในรอบที่ 2 กรรมการจะต้องให้คะแนนนกให้ครบทุกตัวแม้ว่าจะไม่ร้องก็ตาม เมื่อกรรมการแต่ละท่านตัดสินนกจนครบทุกตัวก็ถือว่าเป็นการสิ้นสุดการให้ คะแนน และสรุปผลการตัดสินต่อไป

การแข่งแบบ 4 ยก

การแข่งขันแบบนี้ถือกำเนิดขึ้นในแถบจังหวัดชายแดนไทยมาเลเชีย ก่อนจะเริ่มเป็นที่นิยิมขึ้นมาทางภาคใต้ตอนล่าง และแพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
การแข่งขันนกกรงหัวจุกประเภทนี้นิยมแข่งการแข่งขันออกเป็น 5 ยก ให้ใช้ยกที่ 1-4 ในการคัดเลือกนกออก และในยกที่ 5 คือยกสุดท้ายเป็นช่วงเวลาในการชิงความเป็นหนึ่งในสนามแข่ง กรรมการที่ใช้ในการแข่งขันจะมีทั้งหมด 4 คน โดยมีการจัดแบ่งหน้าที่กัน โดย 2 คนทำหน้าที่ดูว่านกตัวใดร้องหรือไม่ร้องบ้าง อีก 1 คนจะคอยให้คะแนนที่ร้อง โดยถ้านกร้อง 3 พยางค์ขึ้นไปให้ 5 คะแนน ไม่ร้องให้ 4 คะแนน
ในสนามหนึ่งๆ จะแบ่งล๊อคเป็น 2 ล๊อค กรรมการจะมี 2ชุด เริ่มเดินวนจากซ้ายสุดและขวาสุดเข้าหากัน เมื่อให้คะแนนล๊อคของตนเสร็จก็จะเปลี่ยนไปให้คะแนนในล๊อคถัดไป กรรมการแต่ละท่านจะใช้เวลาเพียง 1 นาที ในการให้คะแนนนกในล๊อคตรงหน้าของตน เมื่อครบ 1 นาที จะมีสัญญาณนกหวีดดังขึ้น การให้คะแนนวิธีนี้จึงได้รับการยกย่องว่ามีมาตรฐาน ส่วนหลักการให้คะแนนก็มีต่อไปนี้
                                                          
                                                                  

หัวข้อ : กติกาแข่งขันนกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน...และในอนาคต
ข้อความ : กติกาการแข่งขันนกกรงหัวจุกในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ

1.
กติกาแบบสากล 2. กติกาแบบ 4 ยก กติกาแบบสากลเป็นกติกาแบบแรกที่เกิดขึ้นก่อน...จังหวัดที่นำมาใช้ครั้งแรกผมไม่แน่ใจว่าจะเป็นจังหวัดสงขลาหรือจังหวัดตรัง เมื่อการแข่งนกเป็นที่นิยมกันมากขึ้น ก็แพร่หลายไปจังหวัดใกล้เคียง ในสมัยนั้นมีเพียงกติกาแบบสากลอย่างเดียวเท่านั้น เมื่อมีมติจากกรมป่าไม้(ปี พ.ศ. 2535 )ให้ผู้ที่ครอบครองนกกรงหัวจุกจะต้องไปลงทะเบียนเพื่อที่จะมีไว้ครอบครอง(จะลงทะเบียนกี่ตัวก็ได้) ทางกรมป่าไม้จะถือว่าถูกต้องตามกฏหมาย หลังจากปี พ.ศ. 2535 การแข่งขันนกกรงหัวจุกเริ่มที่จะมีปัญหาขึ้นมา เกี่ยวกับเรื่องนกที่ไม่ได้ลงทะเบียน...มีการจับนกระหว่างที่เดินทางไปแข่งขันและยึดนกเป็นของกลาง...ทำให้การแข่งขันนกเริ่มซบเซา ไม่มีใครกล้าจัดแข่งขันหรือถ้าจัดก็มีคนนำนกไปแข่งขันน้อยเพราะกลัวโดนจับ ช่วงนั้นทำให้หลายคนเลิกเลี้ยงนกไปมาก นกแข่งแบบธรรมดาก็ปล่อยไป นกเก่งๆดีๆหลายตัวก็ขายกันถูกๆ หรือให้กับผู้ที่ชอบนำไปเลี้ยงฟังเสียงที่บ้าน.........การแข่งขันแบบสากลก็ยุติชั่วคราวในช่วงนี้(ประมาณ 1 ปี) ในช่วงนี้เองจังหวัดชายแดนทางภาคใต้(ยะลา ปัตตานี สงขลา)เริ่มคิดกติกาแบบใหม่ขึ้น ก็คือกติกา"แบบ 4 ยก" ชื่อเรียกแบบเต็มๆ คือ "กติกาแข่งเสียง 4 ยก" โดยนำหลักการการแข่งขันแบบนกเขาชวาเป็นต้นแบบ เป็นที่นิยมกันมากในแถบจังหวัดชายแดน(ยะลา นราฯ ปัตตานี สงขลา)และเริ่มแพร่เข้ามาในจังหวัด สตูล พัทลุง กติกาแบบใหม่ทำให้วงการแข่งขันนกเริ่มบูมขึ้นมาอีก(ประมาณปี 2536 ) ในช่วงนั้นแทบทุกจังหวัดที่เล่นนกแข่งขันหันมาใช้กติกาแข่งแบบ 4 ยกกันเกือบหมด(มีนราฯ ยะลา สตูล พัทลุง และรวมสงขลาก็ใช้กติกาแบบใหม่ทั้งจังหวัด) ยกเว้นจังหวัดตรังและนครฯอยู่ 2 จังหวัดเท่านั้นที่ไม่ยอมรับกติกาแบบใหม่นี้ ยังยึดหลักการแข่งขันแบบสากลอย่างเหนี่ยวแน่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการแข่งขัน 2 แบบขึ้นมา ก็เริ่มมีการวิจารณ์และเปรียบเทียบกันระหว่างกติกาแบบเดิมและแบบใหม่ว่าอย่างไหนดีกว่ากัน(ซึ่งผมจะไม่ขอกล่าวถึงก่อนในที่นี้...เมื่อมีโอกาสจะมาวิเคราะห์ให้ดูครับ) เมื่อมาถึงในช่วงนี้จังหวัดภาคใต้ตอนบน(กระบี่ ภูเก็ต สุราษฏร์ พังงา)ก็เริ่มนิยมและมีการแข่งขันนกขึ้น(จังหวัดที่กล่าวเลี้ยงนกกรงหัวจุกมานานแล้ว แต่เริ่มที่จะนำนกมาแข่งขันจะหลังกว่าจังหวัดทางภาคใต้ตอนล่าง) จังหวัดที่กล่าวถึงจะมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดตรังและนครฯ. จึงได้รับอิธิพลรูปแบบการแข่งขันแบบสากลมาด้วย....จึงทำให้การแข่งขันนกแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆจนถึงปัจจุบันนี้ คือ ภาคใต้ตอนล่าง(แข่งแบบ 4 ยก) และภาคใต้ตอนบน(แข่งแบบสากล)....ถ้าให้เห็นภาพง่ายๆ ให้แบ่งภาคใต้เป็นสองส่วน ตัดช่วงตรงกลาง(คือ...จังหวัดพัทลุง)....เหนือจังหวัดพัทลุงขึ้นไปจะแข่งกติกาแบบสากล ส่วนใต้จังหวัดพัทลุงลงไปถึงชายแดนมาเลเซีย จะแข่งกติกา 4 ยก ยกเว้นจังหวัดสงขลาเพียงจังหวัดเดียวที่มีการแข่งขันทั้งสองแบบ ส่วนในกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง มีการแข่งขันนกตั้งแต่ยุคแรกๆที่ทางใต้เริ่มมีการแข่งขันเลยทีเดียว แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก มีเฉพาะกลุ่มเล็กๆเท่านั้นที่เล่นกัน(ส่วนใหญ่จะเป็นคนใต้ที่ไปอยู่กรุงเทพฯ) เพิ่งจะมานิยมเล่นกันมากจริงๆในช่วง 4 - 5 ปีมานี้เอง และมีแนวโน้มที่จะนิยมเล่นมากขึ้น กติกาที่กรุงเทพฯ(ภาคกลาง)นำมาใช้เป็นกติกาแบบสากล เหตุที่นำกติกาแบบสากลมาใช้นั้นก็เพราะว่า การจัดแข่งช่วงแรกๆจะใช้กรรมการมาจากจังหวัดนครฯ(ถ้าจำไม่ผิด)ตั้งแต่ผู้จัด กรรมการ และนกบางส่วนก็จะเป็นนกจากนครฯที่นำขึ้นไปแข่ง ส่วนคนกรุงเทพฯที่นำนกไปแข่งก็เป็นคนใต้ที่นำนกไปเลี้ยงที่กรุงเทพฯเกือบทั้งหมด จะเป็นคนกรุงเทพฯจริงๆนั้นน้อยมาก แต่หลังจากนั้น การแข่งขันนกที่กรุงเทพฯเป็นที่นิยมกันเร็วมาก จึงกระจายไปสู่ผู้นิยมทั้งหลาย(ที่ไม่ใช่คนใต้ที่ไปอยู่กรุงเทพฯ)อย่างมาก...จนถึงปัจจุบันนี้ ดั่งนั้นกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียงจึงใช้กติกาแบบสากล(เหมือนกับจังหวัดนครฯ.ที่เป็นแม่แบบ)
                                                        
  ราคานกที่ขึ้นหลักหลายๆหมื่น จนถึงหลักแสน ก็เกิดขึ้นในช่วงที่กรุงเทพฯ(ภาคกลาง)เริ่มนิยมกัน ทำให้ราคานกในภาคใต้เปลี่ยนแปลง(แพงขึ้น)มากก็ในช่วงนี้ นกดีๆและเก่งๆถูกกวาดต้อนซื้อเข้ากรุงเทพฯ(และจังหวัดใกล้เคียง)ไปเป็นจำนวนมาก ช่วงแรกๆคนจากกรุงเทพฯ(ภาคกลาง)จะเข้ามาหาซื้อนกจากจังหวัดนครฯ และจังหวัดตรัง เป็นส่วนใหญ่(เพราะแข่งกติกาแบบสากลเหมือนกัน) ลงมาซื้อแต่ละครั้งกวาดเอานกชั้นเลิศ(หัวนก) นกดังๆของจังหวัดไปเกือบหมด(เพราะให้ราคาดีมาก) หลายคนก็ประสพกับความสำเร็จแต่หลายคนผิดหวังก็มีไม่น้อย เมื่อที่กรุงเทพฯ(ภาคกลาง)เล่นนกกรงหัวจุกมากขึ้น.....ก็มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกติกาในรอบชิงต่างจากภาคใต้ ที่เห็นเด่นชัด คือ กรรมการจะไม่เดินหานกและให้คะแนนเฉพาะนกที่ร้องเท่านั้น จะต้องเดินตามเวลาที่กำหนด ทำให้นกทุกตัวกรรมการจะต้องให้โอกาสเท่าๆกัน(ซึ่งผมคิดว่าดีกว่าแบบเดิมมาก) นอกจากนี้เริ่มมีการจัดแข่งประเภทเสียงทอง(เฉพาะนกชั้นเลิศ) ไม่มีการคัดนกออก แบ่งออกเป็นสองยก ให้คะแนนตั้งแต่ยกแรก คัดนกตามจำนวนที่กำหนดเข้ารอบสองและตัดสินให้คะแนนใหม่ จัดอันดับตามคะแนนที่ได้ และยังมีกติกาอีกหลายๆแบบที่ทดลองนำมาใช้ แต่ก็ยังไม่เด่นชัดมากนัก ก็ขอไม่กล่าวถึง

การต่อนกและการดักจับนกกรงหัวจุกจากป่า
          การต่อนกหรือการดักจับนกกรงหัวจุกจากป่าตัวใหม่มาเลี้ยง โดยอาศัยพฤติกรรมของนกที่ชอบกระโดดไปมา การต่อสู้ของนกกับนกตัวอื่นและการหาอาหารกิน เป็นตัวล่อในการต่อนกและดักจับนก ซึ่งนกกรงหัวจุกที่ได้จากป่าจะเป็นนกหนุ่มที่มารถร้องเพลงได้ตามธรรมชาติ เป็นนกที่แข็งแรง มีสัญชาตญาณของนักต่อสู้ แต่ผู้เลี้ยงต้องนำมาทำการฝึกอีกโดยทำนกป่าให้คุ้นเคยและเชื่องต่อไปจนสารถนำเข้าไปประกวดแข่งขันได้ แต่ต้องใช้เวลามากหน่อย เพราะยังติดนิสัยและพฤติกรรมเดิมอยู่ เพราะตอนอยู่ในป่ามีอิสระ เสรี  เมื่อมาอยู่ในกรงแคบๆนกป่าจึงต้องปรับตัว

          นกกรงหัวจุกที่จะเป็นนกต่อ จะใช้ทั้งนกกรงหัวจุกตัวผู้และตัวเมียก็ได้ แต่นกต่อที่เป็นตัวเมีย นกป่าตัวผู้จะเข้าหานกต่อตัวเมียได้เร็วกว่านกต่อตัวผู้ ผู้ที่จะต่อนกต้องฝึกนกต่อตัวผู้ให้รู้จักต่อสู้กับนกตัวอื่น และเคยชินกับกรงต่อนกก่อน

          จากนั้นก็นำนกต่อไปแขวนไว้ตามกิ่งไม้ในป่า ที่มีฝูงนกกรงหัวจุกอาศัยอยู่ วิธีต่อนกจากป่าก็จะทำกรงต่อนก หรือกรงดักนกขึ้นมาเอง หรือไปหาซื้อมาจากร้านขายกรงนกและอุปกรณ์นกก็ได้ ซึ่งการต่อนกและการดักนกจากป่า มีวิธีดังนี้

การใช้กรงต่อนกหรือเพนียด
          มีวิธีที่พบเห็นกันทั่วๆไปอยู่ 2 แบบ คือ
1.  การต่อนกแบบทรงกลม
ลักษณะของกรงต่อนกแบบนี้จะเป็นทรงกลม มีด้านหัวมน ด้านท้ายตัดตรง มีประตูปิดเปิดกรงอยู่ด้วย และด้านท้ายกรงจะมีเสาไม้จริง มีสลักและปลายเสาจะเป็นลวดแข็งสำหรับไว้แขวนบนกิ่งไม้ โครงสร้างของกรงต่อนกนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นหวายและซี่กรงเป็นไม้ไผ่ ด้านหัวกรงจะทำเป็นปากยื่นออกมาจากหัวกรง ด้านบนของกรงจะมีคอนให้นกป่ามาเกาะ เป็นรูป 2 ง่าม เหมือนง่ามหนังสติ๊ก ที่ง่ามก็จะใส่กล้วย มะละกอไว้ ล่อนกป่ามากินด้วย ด้านบนเหนือจากคอนจะเป็นแผงตาข่าย ใช้เส้นลวดแข็งทำเป็นโครง มีรูปทรงเหมือนหรือเท่าๆกับกรงนกต่อ โดยมีตาข่ายขึงไว้ เพื่อให้หุ้มตัวนกป่า
ขนาดของกรงนกต่อแบบนี้ มีดังนี้
          (1). ความสูงของตัวกรง สูงประมาณ 8 นิ้ว
          (2). ความยาวของตัวกรง ประมาณ 9 นิ้ว
          (3). ความยาวของปากยื่น ประมาณ 9 นิ้ว
          (4). ความกว้างของตัวกรง ประมาณ 9 นิ้ว
          (5). แผ่นฝาตาข่าย มีด้านท้ายฝากว้าง 9.5 นิ้ว ด้านปลายกว้าง 8 นิ้ว และความยาวของแผ่นตาข่ายทั้งหมด ยาวประมาณ 13 นิ้
                                                                                                                                       
ตำนานนกกรงหัวจุก
นกกรงหัวจุก ที่เรา ๆ ท่าน ๆ นำมาแข่งขันประชันเสียงกันนั้น มีตำนานเล่าสืบต่อกันมา และมีหนังสือบางเล่ม ได้เขียนเอาไว้ว่าชนชาติแรกที่นำนกปรอดหัวจุมาเลี้ยงคือชาวจีน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2410 คนจีนได้นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงแทนนกโรบิ้น ที่คนจีนส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่กรงพาเดินไปตามถนน หรือนั่งร้านกาแฟ หรือไปหาเพื่อน ๆ ที่รู้ใจและเลี้ยงนกเหมือนกัน และเจ้านกโรบิ้น มักจะเป็นนกที่ตกใจง่ายและตื่นคน บางครั้งตกใจมากจนถึงขั้นช็อคตายคากรง ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ชาวจีนหันมาเลี้ยงนกปรอดหัวจุกหรือนกหัวจุกกันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา นกกรงหัวจุกมีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ในทวีปเอเชีย พบได้ ประเทศจีน มานกกรงหัวจุก ที่เรา ๆ ท่าน ๆ นำมาแข่งขันประชันเสียงกันนั้น มีตำนานเล่าสืบต่อกันมา และมีหนังสือบางเล่ม ได้เขียนเอาไว้ว่าชนชาติแรกที่นำนกปรอดหัวจุมาเลี้ยงคือชาวจีน
เมื่อประมาณ พ.ศ. 2410 คนจีนได้นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงแทนนกโรบิ้น ที่คนจีนส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่กรงพาเดินไปตามถนน หรือนั่งร้านกาแฟ หรือไปหาเพื่อน ๆ ที่รู้ใจและเลี้ยงนกเหมือนกัน และเจ้านกโรบิ้น มักจะเป็นนกที่ตกใจง่ายและตื่นคน บางครั้งตกใจมากจนถึงขั้นช็อคตายคากรง ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ชาวจีนหันมาเลี้ยงนกปรอดหัวจุกหรือนกหัวจุกกันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา นกกรงหัวจุกมีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ในทวีปเอเชีย พบได้ ประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว ส่วนใหญ่ เราจะพบนกชนิดนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ นกกรงหัวจุกเป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย นั่นคือการแข่งขันประชันเสียงเพลงที่มีลีลาการร้องของสำนวนเสียงในนกแต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ นครศรีธรรมราช นิยมนำนกกรงหัวจุกมาชนกันหรือตีกันเหมือนกับการชนไก่ คือ เอานกมาเทียบขนาดให้ใกล้เคียงกันแล้วจับใส่กรงกลางที่มีขนาดใหญ่แล้วปล่อยให้นกทั้งสองตัวไล่จิกตีกันภายในกรงจนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า นกปรอดหัวจุก มีนิสัยดุร้ายและชอบไล่จิกและตีกันตามธรรมชาติอยู่แล้ว

การแข่งขันนกกรงหัวจุกได้มาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อประมาณปี พ.ศ.2515 เพราะว่าชาวจังหวัดสงขลา มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนจากการตีกันมาเป็นแบบแข่งขันประชันเสียง โดยเอาแบบมาจากการแข่งขันของนกเขาชวา คือนำนกป่าที่ต่อมาได้นำมาเลี้ยงและฝึกให้เกิดความเชื่องกับคนเลี้ยง หรือเชื่องกับผู้ที่เป็นเจ้าของพร้อมกับฝึกให้นกมีความสามารถในการร้องในลีลาต่าง ๆ ตามแต่ที่นกในแต่ละตัวจะทำได้ และผู้เล่นนกกรงหัวจุกก็เริ่มเปลี่ยนการละเล่นที่นำนกมาตีกัน มาเป็นอย่างเดียวกันกับนกเขาชวา คือการเล่นฟังเสียงอันไพเราะของนก จากนั้นการแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็เริ่มมีผู้นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2519 ที่สนามบริเวณหลังสถานีรถไฟเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งในการจัดครั้งนั้นถือว่าเป็นรายการใหญ่ที่สุดในยุคนั้น และได้ยกเลิกการแข่งขันนกกรงหัวจุกในแบบตีกัน ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2520 ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดให้มีการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก โดยจัดตั้งขึ้นเป็นชมรม ซึ่งทำให้ทุกวันนี้มีชมรมต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย
กรุงเทพมหานคร ได้มีการเล่นนกกรงหัวจุก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2524 โดยมีกลุ่มคนทางภาคใต้นำเอากีฬาชนิดนี้เข้ามาเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักและได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้น เป็นครั้งแรกที่ตลอดสวนจตุจักร และนับตั้งแต่นั้นมากระแสความนิยมแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็ได้รับความนิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน
สายพันธุ์ปรอด
นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือนกพิชหลิว ชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus Jocosus เป็นนกที่มีการคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 17 ให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้
วงศ์สกุล (GENUS) ของนกปรอดมีมากมายหลายชนิด วงศ์นกปรอด (Family Pycnonotidae) เป็นนกที่มีชนิดมากที่สุด ซึ่งในแต่ละชนิดก็มีเป็นจำนวนมาก และที่ถูกค้นพบมากที่สุดคือประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยมีรายงานการค้นพบนกปรอดทั้งหมด ประมาณ 36 ชนิด โดยที่ปรอดทั่วโลกมีประมาณ 109 ชนิด

นกปรอดหัวโขนเคราแดง
ชื่อสามัญ Red-whiskered Bulbul
ลักษณะทั่วไป มีลายขาวแดงที่ข้างแก้ม
นกปรอดหัวโขนก้นเหลือง
ชื่อสามัญ Brown-brested Bulbulo
นกปรอดคอลาย
ชื่อสามัญ Stripe-throated Bulbul
นกปรอดก้นแดง หรือปรอดคางแพะ
ชื่อสามัญ Black-capped Bulbul
นกปรอดหน้านวลก้นเหลืองของตาขาว
ชื่อสามัญ Yellow-vented Bulbul
นกปรอดเหลืองหัวจุก
ชื่อสามัญ Black-crested Bulbul
นกปรอดสวน
ชื่อสามัญ Blanfords Bulbul
นกปรอดโอ่ง
ชื่อสามัญ White-throated Bulbul
นกปรอดทอง
ชื่อสามัญ Black-headed Bulbul
นกปรอดหัวจุกที่นิยมนำมาแข่งขันกันนั้น จะนิยมนำนกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือที่ภาคใต้เรียกว่านกหัวจุก ภาคเหนือนิยมเรียกว่านกปริ๊นจะหลิว หรือพิชหลิว ส่วนในสายพันธุ์อื่น ๆ นั้นปัจจุบันยังไม่ปรากฏว่ามีการนำมาเลี้ยงเพื่อการแข่งขันประชันเสียงร้อง เช่นเดียวกับนกกรงหัวจุกแต่อย่างใด
ลักษณะทั่วไปของนกปรอดหัวโขนเคราแดง
แก้มและคอจนถึงหน้าอกจะมีสีขาวและมีสีแดงเป็นเส้นอยู่ข้างหูลงมาถึงหน้าอกเหมือนเป็นเส้นแบ่งขนสีขาวกับสีดำที่มีอยู่ทั่วทั้งตัว ขนส่วนหัวจะรวมกันเป็นเหมือนหน่อตั้งอยู่บนหัวสูงขึ้นไปเหมือนหัวโขน ใต้ท้องมีขนสีขาว

นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือนกกรงหัวจุกนั้นทางภาคใต้นิยมเลี้ยงกันมายาวนานแล้ว และสืบทอดกันมาชั่วลูกหลาน จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง จนเรียกได้ว่าการเลี้ยงนกกรงหัวจุกเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือเป็นเกมกีฬาอย่างหนึ่งของคนภาคใต้ไปแล้ว และไม่ปรากฏหลักฐานใด ๆ ว่าคนทางภาคใต้ เริ่มเลี้ยงมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีหนังสือนกกรงหัวจุกเล่มหนึ่ง โดยมีคุณศักดา ท้าวสูงเนิน เป็นบรรณาธิการ ได้รวบรวมและเขียนเอาไว้ว่า
การเริ่มเลี้ยงนกปรอด ประเทศสิงคโปร์ น่าจะเป็นชาติแรกที่นิยมเลี้ยงนกปรอดก่อนประเทศอื่น ๆ และได้ให้ความสำคัญกับนกชนิดนี้มากถึงกับเอารูปนกปรอดหัวโขนเคราแดงมาเป็นสัญลักษณ์ในการพิมพ์ธนบัตรใช้จ่ายภายในประเทศ ดังนั้น จึงขอสันนิษฐานว่าน่าจะเลี้ยงก่อนชาติอื่น ๆ
ส่วนในประเทศไทยเริ่มมีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกกันมานานแล้วประมาณว่าเกินกว่า 40 ปี มาจนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการพัฒนาการเลี้ยงและการแข่งขันประชันเสียงออกเป็นชนิดต่าง ๆ เช่นมีทั้งการแข่งขันประชันเสียงในประเภทนับดอก คือ ให้คะแนนตามที่นกร้องออกมาเป็นคำ คำละคะแนน ประเภทสากล ประเภทเสียงทอง และในปัจจุบันก็ไม่ปรากฏว่ามีการแข่งขันประเภทตีกัน
การแข่งขันนกกรงหัวจุกได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่มีผู้คนให้ความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีการจัดงานแข่งขันประชันเสียงกันทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ในแต่ละสัปดาห์จะมีรายการแข่งขันทั้งประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 5 สนาม มีชมรมฯ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับนกกรงหัวจุกทั่วประเทศนับเป็นร้อย ๆ ชมรมฯ และสิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยเป็นรางวัลแก่ผู้ที่ชนะการแข่งขัน มีตั้งแต่ถ้วยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้วยของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งสร้างความปลาบปลื้มและเป็นเกียรติยศแก่วงศ์ตระกูลของผู้ที่ได้รับครอบครองถ้วยพระราชทาน วงการนกกรงหัวจุกจัดได้ว่าเป็นวงการที่ได้รับความนิยมจากคนไทยทั้งประเทศเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมแพร่ขยายมากขึ้น มีการจัดรายการแข่งขันติดกันและต่อเนื่องตลอดทั้งปี มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้การสนับสนุนหลายท่าน ซึ่งส่งผลให้วงการกีฬานกกรงหัวจุกเป็นกีฬาที่สร้างความสนุกสนานและเป็นการสร้างความสามัคคีให้กับคนในชาติได้เป็นอย่างดี

จากเว็บ noksiam.com
กฏหมายเกี่ยวกับนก
ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 กำหนดให้นกปรอดทั้ง 36 ชนิด ที่พบในเมืองไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนกที่ผู้ครอบครองต้องมีใบอนุญาตในการครอบครอง ส่วนการประกวดนกปรอดหัวโขนนั้นต้องปฏิบัติตามประกาศกรมป่าไม้ เรื่องการประกวดแข่งขันนกปรอดหัวโขน ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดยอธิบดีกรมป่าไม้ที่ระบุว่า
ผู้ใดจะนำสัตว์ป่าคุ้มครอง ชนิดนกปรอดหัวโขน หรือสัตว์ป่าอื่น ๆ เข้าประกวดแข่งขัน จะต้องนำเอกสารการแจ้งการครอบครองตามมาตรา 66 หรือ 67 ซึ่งได้จดแจ้งต่อกรมป่าไม้แล้วภายในเดือนพฤษภาคม 2535 และต้องนำเอกสารดังกล่าวติดตัวสัตว์ป่าไปด้วยทุกครั้ง และผู้ที่นำสัตว์ป่าไปเข้าประกวดแข่งขั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในเอกสารดังกล่าวข้างต้น หรือผู้เข้าประกวดนำสัตว์ป่าคุ้มครองอื่นไปแข่งขัน หรือมีการตกลงกันซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองภายในสถานที่ประกวด จะมีความผิดตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว ส่วนใหญ่ เราจะพบนกชนิดนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ นกกรงหัวจุกเป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย นั่นคือการแข่งขันประชันเสียงเพลงที่มีลีลาการร้องของสำนวนเสียงในนกแต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ นครศรีธรรมราช นิยมนำนกกรงหัวจุกมาชนกันหรือตีกันเหมือนกับการชนไก่ คือ เอานกมาเทียบขนาดให้ใกล้เคียงกันแล้วจับใส่กรงกลางที่มีขนาดใหญ่แล้วปล่อยให้นกทั้งสองตัวไล่จิกตีกันภายในกรงจนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า นกปรอดหัวจุก มีนิสัยดุร้ายและชอบไล่จิกและตีกันตามธรรมชาติอยู่แล้ว



 
เสน่ห์ของการเลี้ยงนกกรงหัวจุก

18.ปากหนาใหญ่สีเข้ม เรี่องความสวยงามของนกเป็นเรื่องของความรู้สึกมุมมองของแต่ละคนย่อมไม่ เหมือนกัน ถ้าใครมีข้อคิดเห็นเป็นอย่างไรบ้างก็แสดงออกมาได้ครับ โดย บ้านนา(พัทลุง) [30 มิ.ย. 2545 , 15:33:41 น.] ขอเพิ่มเติมนะครับ นกที่รูปร่างสวยกับนกลีลาสวยงามเป็นคนละส่วนนะครับ เพียงแต่ว่านกที่รูปร่างสวยเมื่อเล่นได้ลีลาที่สวยงามแล้วจะช่วยส่งเสริมนก ตัวนั้นให้ผู้ที่พบเห็นแล้วประทับใจขึ้นไปอีกครับ สังเกตุให้ดีกติกาการแข่งขันนกไม่ว่าแข่งแบบไหน(สากลหรือ4ยก)คะแนนนกที่สวย นั้นไม่มีครับ(ไม่มีช่องให้กรอก)มีแต่ช่องคะแนนลีลาเท่านั้น นกที่เก่งแต่ไม่สวยราคานกจะต่างจากนกที่เก่งและสวยด้วยอย่างมาก ตรงจุดนี้เป็นข้อให้คิดนะครับ และนกระดับดังๆทั้งหลายสังเกตุได้ว่าไม่ได้เก่งเพียงอย่างเดียวความสวยก็ไม่ แพ้กัน ส่วนตัวผมแล้วนกที่เก่งต้องสวยด้วยครับ เป็นเรื่องของจิตใจชอบมองอะไรที่สวยๆไว้ก่อน ส่วนเรื่องลีลานกที่สวยขอไว้วันหลังครับ โดย บ้านนา(พัทลุง) [1 ก.ค. 2545 , 00:17:06 น.] จุดเริ่มทางสรีระนกปรอทหัวโขนเคราแดง จากสูงสุดไปสู่จุดต่าง ที่พอจำได้ (ไม่ใช่วิชาฝังเข็มของหมอโฮจุน) นะครับ อิอิอิฮาๆๆๆๆ



8.ส่วนสำคัญของท้องนก ท้องนกจะทำหน้าที่เก็บอหารย่อยอาหารแล้ว ยังทำประโยชน์ในด้านขยายในรูปถุงลมแบบหยืดหย่อนได้ขณะที่นกต้องการลมมากๆ ท้องจะทำหน้าที่ขยายและเป็นที่รัดลม ส่งไปที่พักลมคือที่คอนก หรือเรียกกล่องลม ความสำคัญของกลไกเหล่านี้ จะทำหน้าที่สานสัมพันธ์กัน เป็นขั้นเป็นตอนสลับซับซ้อน แบ่งหน้าที่ทำคนละส่วน พอถึงเวลาต้องการลม จะทำหน้าที่ของมันเองโดยอัตโนมัติ ในรูปพรรณสันฐานของนกเสียงดี คุณสมบัติเด่นๆ ที่สำคัญประเภทกลุ่มนกเสียงดี ตามที่กล่าวมานั้น เป็นองคืประกอบในการเรียนรู้ ด้านเบสิคพื้นฐาน ที่จะนำไปสู่แนวทางค้นคว้าด้านอื่นๆ ต่อไป การแสวงหาของนักค้นคว้า คว้าดาว จะยังไม่สิ้นสุดเพียงเท่านี้ ผู้เขียนเองก็ยังค้เนคว้า คว้าดาวต่อไป เพิ่มเติมอีก นอกเหนือจากส่วนที่กล่าวมาทั้งหมด คำว่านกสู้ กับนกเพลง ความหมายต่างกัน คำว่านกสู้ไม่ได้หมายความว่านกตัวนั้นๆ จะเป็นนกเสียงดีเหสมอไป เป็นแต่เพียงนกมีอึปนิสัย ออกไปทางนกเกเร(หมายถึงถ้าเป็นคนก็คนเกเรหรือนักเลงนั่นเอง) ในความเป็นจริงนกชนิดนี้มีนิสัย ซุกซน จอมเกเร ชอบใช้อารมย์ จิกตีกัน ชนกัน แต่ถ้าจะมองแบบน้รักๆ ก็ดูเป็นกีฬาตามภาษาแบบของนกๆ ไป ดูดีน่ารักไปอีกแบบ นกสู้หมายถึง เป็นกลุ่มประเภทนกที่มีความห้าวหาญ แบบบ้าระห่ำ คือคะนอง หังเอาชนะคู่ต่อสุ้อย่างเดียวไม่พึงประสงค์ จะร่วมวงสนทนา เสวนะโต๊ะกลมกับศัตรูหรือฝ่ายตรงข้าม ผลความดีด้านเสียงร้องที่ไพเราะ จึงมีในกลุ่มนกประเภทนี้ไม่มากนัก แต่ใช่ว่าจะไม่มีเสียเลย เสียงร้องกลุ่มนกชนิดนี้ มักจะส่งเสียงดัง แกนเสียงฟังหยาบก้าน เสียงจะกราดเกี้ยว ออกเสียงตะหวาด ความไพเราะนุ่มนวลจึงมีน้อย ลักษณะทั่วไป เรามักได้ยินคำว่า (นกดุ) มีจุดดเด่นเป็นที่สังเกตอันหนึ่ง คือให้สังเกตดูที่จุกบนหัวค่อนข้างจะยาว และตั้งชี้ตรงปลายโค้งไปข้างหน้าอย่างเห็นได้ชัด มีกิริยา แบบในตาดูแบบเหยี่ยว และ คมใสแวววาว อีกตำรากล่าวไว้ว่า นกดุ มีลีลา ชอบเต้นไปมา ตีลังกาบ่อยๆ บางคนเข้าใจว่าเป็นนกนิสัยไม่ดี ไม่นิยมเลี้ยงกัน นกที่มีกิริยาแบบนี้ บางท่านกล่าวว่า น่าจะมาจากความดุของนก มากกว่าจะมาจากสาเหตุอื่น


 

นกจิกหางทำไม
 ความเครียดของนก สาเหตุอาจแบ่งได้เป็น 2 ประการนะครับ  คือ  1. พฤติกรรมทางอารมณ์   เพราะนกกรงหัวจุกเป็นนกที่มีความก้าวร้าว  หวงถิ่นที่อยู่ และการชิงความเป็นหัวหน้าหรือผู้นำหรือในช่วงฤดูผสมพันธุ์ 2. พฤติกรรมทางกายภาพ  เพราะความสมบูรณ์ทางด้านอาหารที่มากเกินไป,สิ่งแวดล้อมที่สกปรก, มลภาวะเป็นพิษ ในปัจจุบันเราเลี้ยงนกกันแบบอัดเกินไปหรือปล่าว  อาหารนกในทุกวันนี้ล้วนแล้วแต่โหมประเคนสารอาหารที่ต้องการ

ความเครียดของนก
สาเหตุอาจแบ่งได้เป็น 2 ประการนะครับ  คือ
1.
พฤติกรรมทางอารมณ์   เพราะนกกรงหัวจุกเป็นนกที่มีความก้าวร้าว  หวงถิ่นที่อยู่ และการชิงความเป็นหัวหน้าหรือผู้นำหรือในช่วงฤดูผสมพันธุ์
2. พฤติกรรมทางกายภาพ  เพราะความสมบูรณ์ทางด้านอาหารที่มากเกินไป,สิ่งแวดล้อมที่สกปรก, มลภาวะเป็นพิษ
ในปัจจุบันเราเลี้ยงนกกันแบบอัดเกินไปหรือปล่าว  อาหารนกในทุกวันนี้ล้วนแล้วแต่โหมประเคนสารอาหารที่ต้องการทำให้นกกินเข้าไปแล้วคึกหรือขึ้นเร็วด้วยกันทั้งนั้น  จะเห็นได้ว่าลูกนกที่ได้จากการเพาะหรือผสมพันธุ์จะออกอาการจิกหางได้มากกว่านกที่ได้มาจากป่า  ทั้งนี้เพราะสารอาหารที่เข้าสู่ร่างกายเค้าเต็มไปด้วยสารอาหารที่เร่งด้วยกันทั้งนั้นนั่นเอง
อาหารนกไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาควบคุมดูแลคุณภาพการผลิต และผลข้างเคียงก็ไม่ได้รับการตรวจสอบว่ามีมากมายเพียงไหน
อาหารเป็นตัวการหรือปล่าว???
คงต้องยอมรับอาหารที่วางขายอยู่ในตลาดแทบทุกยี่ห้อมีพื้นฐานมาจากอาหารไก่ด้วยกันทั้งนั้น  ยกเว้นอาหารที่ผลิตจากบริษัทชั้นนำของโลกที่วิจัยและคิดค้นอาหารเพื่อนกแต่ละชนิดแต่ละประเภทโดยตรง
อาหารไก่มีราคาถูกและหาง่ายจึงนำมาเป็นสารตั้งต้นในการผลิตอาหารสู่ตลาดผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก  การเลี้ยงไก่เพื่อนำส่งเข้าสู่ตลาดการค้าไก่มีวงจรชีวิตที่สั้น คือเพียงช่วงระยะเวลา 45-50 วันนับแต่ฟักออกมาจากไข่จนถึงการถูกชำแหละเพื่อนำเนื้อเข้าสู่ตลาดบริโภคต่อไป ดังนั้นการเร่งเนื้อ เร่งการเจริญเติบโตจึงเป็นสิ่งที่มีการพัฒนากันโดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงผลเสียทางด้านการแสดงออกทางด้านจิตใจของไก่ แตกต่างจากนกกรงหัวจุกอย่างสิ้นเชิง
ปัจจัยอื่นในการนำมาซึ่งความเครียด
ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านที่อยู่อาศัยก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเครียดแก่นกได้ ความสกปรก หมักหมมของอุจาระที่เจ้าของหรือผู้เลี้ยงละทิ้งหรือไม่สนใจดูแลก่อให้เกิดแก๊ซ ก่อให้เกิดการทำลายสุขภาพนก ทำให้นกหงุดหงิดและเกิดความเครียดส่งผลให้นกแสดงออกมาหลากหลายพฤติกรรมด้วยกัน
จิกปีกจิกหางกันอย่างเดียวหรือ???
นกที่ชอบจิกมีทั้งจิกซี่กรง  จิกคอน  จิกห่วง  เป็นไปได้ทั้งหมดครับ  แต่ทุกรูปแบบของทั้งสามอย่างที่ว่ามาไม่ถือเป็นอาการเสีย  แต่ที่รับได้ยากคือการจิกปีก จิกหน้าอกและจิกหางครับ เป็นพฤติกรรมที่นักเลี้ยงนกกรงหัวจุกไม่นิยมกัน
นกชนิดอื่นจิกหางหรือจิกปีกกันไหม
จิกครับ  พบว่านกปรอทแม่ทะ นกเขา นกอื่นที่เลี้ยงนานๆหรือเกิดความเครียดก็จิกหางจิกปีกเหมือนกัน  แต่ขออยู่ที่นกกรงหัวจุกดีกว่านะครับ  เดี๋ยวจะยาว
นกกรงหัวจุกเป็นสัตว์กินผลไม้ กินแมลงขนาดเล็ก  สารอาหารที่ต้องการเข้าสู่ร่างกายนกในธรรมชาติในแต่ละวันนั้นได้รับมากน้อยไม่เท่ากัน  แต่หากเป็นนกที่เรานำเอามาเลี้ยงเราจะให้อาหารในปริมาณที่เท่าๆกันแทบทุกวัน  ทั้งนี้เพื่อให้เค้าเกิดความอุดมสมบูรณ์นั่นเอง
ให้อาหารมากไปไม่ดีหรือ??
ต้องไม่ลืมว่านกในธรรมชาติจะผูกพันกับการบินแทบตลอดเวลา  พละกำลังในร่างกายและพลังงานที่ได้รับจากสารอาหารจากธรรมชาตินั้นได้ถูกเผาผลาญไปกับการบิน
แต่นกเลี้ยงในกรงมันไม่ใช่  มันกินเสร็จมันก็นั่ง  ร้อง  กระโดดไปมา  ชีวิตแต่ละวันมีอยู่แค่ในกรงเล็กๆใบหนึ่งเท่านั้น  เมื่อสถานที่ถูกจำกัดความเครียดจึงสะสมเพิ่มขึ้นจนทำให้ต้องระบายออกโดยอาจแสดงออกมาได้หลายรูปแบบด้วยกัน
แก้ไขการทำร้ายตัวเองได้หรือไม่??
พฤติกรรมการระบายความเครียดของนกที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ การป้องกันจะเป็นผลดีกว่าการแก้ไข นั่นคือ หากเป็นแล้วจะแก้ไขได้ยากกว่า
การแก้ไขมีหลายวิธีการ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการแก้ไขความเครียดที่เกิดขึ้นกับนกครับ



ขั้นตอนเกี่ยวกับการขออนุญาตเพาะพันธุ์นกปรอดหัวโขน


ขั้นตอนเกี่ยวกับการขออนุญาตเพาะพันธุ์นกปรอดหัวโขน หรือนกกรงหัวจุกขั้นตอนที่ สาหรับผู้ที่มีสัตว์ป่าที่ถูกต้องตามกฎหมาย-มีใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว (สป.)-หนังสือกากับการจาหน่าย (จากผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่า)ขั้นตอนที่ จัดทาโรงเรือนสาหรับเพาะพันธุ์สัตว์ป่า (สาหรับผู้ที่เพาะพันธุ์นกปรอดหัวโขนหรือนกกรงหัวจุก)

-ความกวาง .๕๐ เมตร ความยาว .๕๐ เมตร ความสูง .๘๐ เมตร ในกรงเพาะพันธุ์ประกอบด้วย ถาดน้า

-ถาดอาหาร ถาดสาหรับนกอาบน้า และต้องมีต้นไม้ขั้นตอนที่ รับคาขอที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๓ (แพร่) ประกอบด้วย-คาขอรับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่า (สป.)-โครงการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า(เอกสารประกอบโครงการ) เช่น-ใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว (สป.)-หนังสือกากับการจาหน่าย (จากผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่าที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์)-โฉนดที่ดิน-แผนที่สังเขปแสดงเส้นทางไปสถานที่เพาะพันธุ์สัตว์ป่า-แผนที่สังเขปแสดงขอบเขตกรงเพาะพันธุ์สัตว์ป่า-สาเนาทะเบียนบ้าน-สาเนาบัตรประจาตัวประชาชน, บัตรข้าราชการเอกสารอื่น ถ้าหากบุคคลใดไม่มีโฉนดที่ดินเป็นของตนเอง-เช่น โฉนดที่ดิน เป็นของพ่อตา แม่ยาย จะต้องมีสัญญาเช่าชื้อ พร้อมติดอากรแสตมป์ -หากเป็นของภรรยา ต้องมีหนังสือมอบอานาจจากภรรยาเซ็นยินยอม




ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงนกในประเทศไทยนั้นมักกระทำกันอยู่ในวงแคบ... "

ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงนกในประเทศไทยนั้นมักกระทำกัน อยู่ในวงแคบเพียงไม่กี่รายเท่านั้นและแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของขีดจำกัดในการ เพาะเลี้ยงนกในเมืองไทยให้เห็นว่ายังมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับต่างประเทศซึ่งในบางประเทศได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนให้มีการ เพาะพันธุ์นกชนิดต่างๆ อย่างเต็มที่ เพราะเชื่อว่าอย่างไรเสียการมุ่งแต่จะจับหรือกีดกันมิให้คนนำนกมาเลี้ยงดู นั้น ดูจะเป็นวิธีที่ค่อนข้างจะเป็นวิธีทีค่อนข้างจะใช้ไม่ได้ในปัจจุบันเพราะ กลายเป็นว่ายิ่งห้ามยิ่งเลี้ยง ยิ่งกีดกัน ยิ่งแสวงหา ประเทศเนเธอร์แลนด์ ถือได้ว่าเป็นประตูเข้า-ออก ระหว่างเอเชียกับยุโรป โดยเฉพาะในเรื่องการค้านก แระเทศนี้มีบริษัทนายหน้าที่รับจัดซื้อจัดหา นกสวยงาม เพื่อป้อนแก่ตลาดทั่วโลก ทั้งยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมถึงเอเชีย และนำเงินเข้าประเทศปีละหลาย ๆ ล้านเหรียญ และยังถือว่าเป็นตลาดพักนก เพื่อส่งไปยังที่ต่าง ๆในโลกที่ใหญ่ที่สุดด้วย นักเลี้ยงนกไทยหลายท่านเสียเงินให้กับนายหน้าจัดหานกจากประเทศนี้มามากต่อ มาก และนี่ยังไม่รวมประเทศจีน ซึ่งกำลังขึ้นมาเป็นทั้งผู้เพาะพันธุ์และนายหน้าจัดซื้อหานกรายใหญ่อีกราย ซึ่งพบว่าราคานกที่นำเข้าจากจีนนั้นจะค่อนข้างถูกกว่ามาก ผมยังมีความเชื่อลึก ๆว่าจำนวนของนกในป่าที่ลดลงในเมืองไทยจากสาเหตุของการลักลอบจับนกจากป่านั้น ยังเป็นปัญหาที่น้อยมา ๆ เมื่อเทียบกับเหตุปัจจัยอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศเราและที่สำคัญที่สุดคือการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของนก เช่น การบุกรุกพื้นที่ป่าหรือป่าชายเลน ฯลฯภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคใต้ เช่นที่ ชุมพร นครศรีธรรมราช ฯลฯ อย่าว่าแต่ป่าที่จะให้นกนับหมื่นนับแสนไม่มีโอกาสได้อาศัยเลย แม้แต่ดินหรือโคลนที่อยู่บนเขาหรือในป่าเหล่านี้ ก็ยังไม่สามารถจะอยู่ที่เดิมได้ จนต้องไหลกันกองถมทับบ้านเรื่อนของมนุนษย์ที่พื้นราบกันแทน และเมื่อโคลนมาอยู่ที่หน้าบ้านนั่นละครับ ถึงจะได้รู้ว่า ป่าไม้ถุกตัดเหี้ยนเตีนยแล้ว แล้วคุณคิดว่า นกที่เคยอยู่เหล่านั้นมันจะไปอยู่ไหนกันละครับถ้าไม่ใช้เพื่อนบ้านของเรา ...... Arrow หันมาอนุรักษ์ในสิ่งที่เป็นต้นตอของการลด จำนวนนกดีกว่ามั้ยครับดีกว่าจะมาอ้างเหตุผลทะเลาะกันสนับสนุนให้ถูกวิธีจับ มือแล้วรวมมือกันนกเขาที่มีมากในทุกวันนี้ก็มาจากคนเลี้ยงนกมีให้เห็นเต็ม บ้านเต็มเมืองไปหมดจนมีมากกว่านกในป่าซะอีก หวังว่าข้อมูลนี้จะทำให้เห็นข้อเปรียบเทียบว่า เราทุกคนทุกชมรมควรจะพัฒนาไปในทางไหนภาครัฐควรช่วยอะไรมองเห็นประโยชน์ในการ เลี้ยงนกแบบไหนมีความสุขที่ได้เห็นนกอย่างไร




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น